วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทุกวันนี้เราต้องเสียภาษีอะไรกันบ้าง

การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของเราชาวไทย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ภาครัฐ นำไปบริหารพัฒนาประเทศต่อไป ความจริงแล้วอาจกล่าวได้ว่า การเสียภาษีได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำของคนไทยได้อย่างกลม กลืน จนบางครั้งก็เป็นไปโดยไม่ทันสังเกต


http://www.cmc.co.th/files/picture/news/main/news-main-410-1431401222.jpg

โดยปกติแล้ว คนไทยต้องเสียภาษีอะไรกันบ้าง ? ครอบคลุมทั้งเรื่อง รายได้อาชีพ ,ทรัพย์สมบัติ เช่น รถ , การอุปโภคบริโภค, การลงทุน เช่น ลงทุนตลาดหุ้น ขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น รวมไปถึง การได้รางวัลจากชิ้นส่วนชิงโชค กระแสกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งหมดมีรายละเอียด ดังนี้

 1. ทำมาหากิน ต้องเสียภาษีเงินได้ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพในนามบุคคลหรือนิติบุคคล ล้วนต้องเสีย ภาษีเงินได้ ทั้งนั้น สำหรับคนไทยทำงานลูกจ้างทั่วไปจะจัดอยู่ในประเภทภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท (ไม่มีคู่สมรส) หรือเกิน 100,000 บาท (กรณีที่มีคู่สมรส)ในช่วงปีภาษีนั้นๆ ต้องทำการยื่นแบบ ภาษีฯ ไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตาม สำหรับผู้ที่เสียภาษี เกินกว่า 3,000 บาท สามารถยื่นเรื่องขอแบ่งจ่ายชำระ ได้ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ แต่ถ้าหาก ลืมจ่ายภาษี จนเลยกำหนดการจ่ายไปแล้ว เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ

 2. มีรถขับ ต้องเสียภาษีรถยนต์ เป็นประจำทุกปี ที่เหล่าผู้เป็นเจ้าของรถทุกประเภท จะต้องดำเนินการ ต่อ พรบ. และชำระภาษีรถยนต์ โดย พ.ร.บ. เสมือนเป็นการทำประกันภัยภาคบังคับ ที่จะคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งทางกรมการขนส่งต้องใช้ประกอบในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สำหรับอัตราภาษีรถยนต์นั้น จะแตกต่างไปตามประเภทรถ เช่น จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี) จากรถยนต์ ,จัดเก็บเป็นรายคัน ,จัดเก็บตามน้ำหนักเป็นต้น

3. พาครอบครัวทานร้านอาหาร ต้องเสียมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) หลายคนคงพบเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้แล้ว รู้สึกหงุดหงิดในใจ เพราะราคาอาหารไม่ได้เป็นไปตามการคาดการณ์ เนื่องจากลืมคำนึงถึง vat 7% ต้องอธิบายว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) คือ ภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการ จำหน่ายสินค้าหรือบริการนั้นๆ โดยผู้ประกอบกิจการจะเป็นผู้เรียกเก็บจากลูกค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระกรมสรรพากร เรียกง่ายๆว่า ผลักภาระให้ผู้บริโภค นั้นเอง เป็นภาษีทางอ้อมที่คนไทยฐานะผู้บริโภคจำต้องรับไว้ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ก็ ตาม

4. มีเงินฝากธนาคาร ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก เชื่อว่าหลายคนอาจละเลยภาษีส่วนนี้ไป เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างต่ำ (ออมทรัพย์0.125%-1% ,ฝากประจำ 0.8-2.5%) ซึ่งดอกเบี้ยต่อปีที่ได้รับ แม้รวมทุกธนาคารแล้ว หาก ไม่ถึง 20,000 บาทต่อปี จะอยู่ในข้อยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี (ส่วนที่เกิน 20,000 บาท จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%) สำหรับข้อยกเว้นดังกล่าว ยังรวมไปถึงกรณีเงินฝากประจำ ประเภทเงินฝากเผื่อเรียกธ.ออมสินและธกส. , เงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์, เงินฝากประจำ 2ปีขึ้นไป ไม่เกิน 600,000 บาท และเงินฝากประจำมากกว่า 1ปี อายุ 55ปีขึ้นไป ที่ได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 30,000บาท เป็นต้น

5. ลงทุนตลาดหุ้น ต้องเสียภาษีเงินปันผล แม้ว่ากำไรจากการขายหรือโอนหุ้นจะได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้โดยกฎหมาย แต่สำหรับ เงินปันผลจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลนั้นๆ ทั้งนี้ สำหรับผู้เสียภาษีเงินได้ สามารถใช้สิทธิขอคืนภาษีได้ เรียกว่า เครดิตภาษีเงินปันผล เป็นการขอคืนเงินภาษีจากการเก็บซ่ำซ้อน เนื่องจากเงินปันผลที่บริษัทจ่ายให้กับผู้ถือหุ้น เป็นเงินกำไรสุทธิที่ได้หักจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว และเมื่อผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลก้อนนั้น ซึ่งถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน จำเป็นต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกครั้ง จึงกลายเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนจากกำไรก้อนเดียวกัน

 6. หารายได้เสริม ขายสินค้าทางเน็ต ต้องเสียภาษีเงินได้ (เกิน 1.8 บาทต่อปี เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) อธิบายได้ว่า เมื่อไหร่ที่มีรายได้ ย่อมต้องเสีย ภาษีเงินได้ กรณีขายในนามบุคคลจะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากเป็นนามบริษัทจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และสำหรับผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่มี รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อีกด้วย หมายความว่า ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องคิด vat 7% บวกเพิ่มกับราคาสินค้าที่ขายนั้นๆ ด้วย

7. ถูกรางวัลชิงโชค ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที (เสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น) เงินรางวัลที่ผู้โชคดีได้รับ จะถูกหักทันที่ ภาษี ณ ที่จ่าย 5% ของมูลค่าสินค้าหรือเงินรางวัล และเมื่อครบปีภาษีนั้นๆ (เดือนมีนาคม) เงินรางวัลเหล่านี้จะถูกรวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินอื่นๆ เพื่อนำไปคำนวณ ภาษีเงินได้ ต่อไป ทั้งนี้ หากผู้โชคดีรายนั้น มีผลรวมของ เงินได้พึ่งประเมินและเงินรางวัล ไม่ถึง 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนั้น ผู้โชคดีรายนั้นสามารถขอคืนภาษี 5% ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ดังกล่าวได้

8. ขายบ้าน ต้องเสียภาษีจากการขายอสังหา เมื่อขายบ้านหรืออสังหาฯใดก็ตาม จะต้องเสีย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย โดยพิจารณาจากราคาประเมินและจำนวนปีที่ถือครอง นอกจากนี้ยังมี ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ที่ผู้ขายต้องเสียในขั้นตอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ , ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ทุกครั้งที่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ และ กรณีผู้ขายครอบครองอสังหาริมทรัพย์น้อยกว่า 5 ปี จะต้องเสีย ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินหรือราคาตลาดที่สูงกว่า ล่าสุดเมื่อปลายปี 57 ก็ยังมีกระแสจัดเก็บ ภาษีมรดก ที่ว่า ภาษีมรดกจะจัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดกจากผู้ตาย ที่เกิน 50 ลบ. ขึ้นไป ในอัตรา 10% และการโอนมรดกช่วงย้อนหลังไป 5 ปีก่อนครั้งล่าสุด ระหว่างที่ผู้ให้ยังไม่ตาย เรียกว่า “ภาษีการรับให้” ที่เกิน 10 ลบ. ขึ้นไป ในอัตรา 10% ซึ่งยังคงต้องติดตามกันต่อไป


บทความจาก : terrabkk



บทความอื่นๆน่าสนใจ
- ทุกวันนี้เราต้องเสียภาษีอะไรกันบ้าง
ผ่อนสั้นหรือผ่อนยาว สำหรับซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียม อันไหนดีกว่ากัน
สวนกระถาง สวนเล็กๆ ในบ้านให้ความสดใสให้กับชีวิต
10 ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับการซื้อบ้านและคอนโด
ไอเดียแต่งสวนสวยด้วยหญ้าเทียม
การเลือกใช้สีตามหลักภูมิปัญญาจีน
การตกแต่งสไตล์ minimalist
ตกแต่งบ้านหรือคอนโดหลังแรก
ตกแต่งคอนโดด้วยสวนแคนตัส
7 เคล็ดลับขยายพื้นที่บ้าน ด้วยการตกแต่ง
ตกแต่งบ้านด้วยสวนในร่ม
โทนสีขาวดำ เท่อย่างมีสไตล์ 
จัดห้องรับแขกในคอนโดให้ถูกหลักฮวงจุ้ย
ทำความสะอาดห้องครัวในคอนโดให้แจ่ม
แต่งห้องนั่งเล่นสุดชิคด้วยสติ๊กเกอร์ติดผนัง
DIY ห้องทานข้าวสีทึมให้ดูสวยสดใส
เลือกของแต่งคอนโดมิเนียม ตามหลักฮวงจุ้ย
เคล็ดลับจัดตู้เสื้อผ้าให้เป็นระเบียบ
หมอนอิงของกินแบบต่างๆ มาเสริมสร้างบรรยากาศในคอนโดมิเนียม
เลือกทำเลซื้อบ้าน - คอนโด ฯ อย่างไรให้รวย
แผงปุ่มไม้กะทัดรัด แขวนของได้สารพัด
4 เคล็ดลับ ทำให้คอนโดหอมสดชื่น
10 วิธี นอนหลับสบายๆ ในคอนโดช่วงหน้าร้อนโดยไม่ต้องเปิดแอร์ 
8 เคล็บลับน่ารู้ ที่ช่วยคุณดูแลรักษาตู้เย็นในคอนโด
ตกแต่งคอนโดสไตล์วินเทจ
มุมนั่งเล่นในคอนโด ที่จะทำให้เราผ่อนคลาย
ไอเดียแต่งคอนโด โทนสีขาว
ไอเดียแต่งคอนโดตามแบบฉบับโมอีเบียน
ห้องน้ำคอนโดด้วยสีแสงและเฟอร์นิเจอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น